kie

free counters

ปฏิทิน





ชื่อนางสาวยุพิน ป้องเพชร ชื่อเล่นกี้
รหัสนิสิต 50010511579
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่อยู่ปัจจุบัน 130/4 ถนนโนนตาล
ตำบลในเมือง อำเภฮเมือง จังหวัดยโสธร 35000





ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป

การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงิน

ทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวม

ถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้า

สู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย



แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ
(1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน



ที่มา http://www.atii.th.org/html/ecom.html




ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากมายหลายประการ ได้แก
1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่าง
2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ
4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้
6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัต
7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป(Member System)
9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากอีเมลล์ในการติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที









พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)ในโลกยุคไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารมีความสะดวกสบายมากขึ้นโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของหลายๆคน อินเตอร์เน็ตเปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมากมายในโลกไว้ด้วยกัน ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการศึกษา การแพทย์ การค้า สื่อโฆษณาและอื่นๆมีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในทุกสาขาอาชีพ ในส่วนของการค้านั้นอินเตอร์เน็ตมีบทบาทเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เรียกย่อๆว่า E-Commerce หรือธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์


(E-Business) หรือบางครั้งก็มีผู้เรียกกันง่ายๆว่า ธุรกิจดอทคอมในความเป็นจริงการดำเนินธุรกิจการค้าที่มีการซื้อขายและการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของระบบอินเตอร์เน็ตโทรศัพท์ และ
โทรสาร หรือการค้าขายโดยแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า EDI (Electronic Data Interchange)ถือว่าเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น การที่มีเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้า ทั้งยังสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่งโมง โดยไม่ว่าคุณจะอยู่ที่มุมไหนในโลกก็สามารถซื้อสินค้านั้นๆได้ E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตกับการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการนำเสนอข้อมูลข้อมูลสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตสู่สายตาคนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้เกิดช่องทางการค้ามากขึ้น ทั้งยังก็ให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น และในปัจจุบันได้มีผู้ให้บริการทางด้านต่างๆที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก เช่น การชำระเงินค่าสินค้าโดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือโอนเงินผ่านทางธนาคาร รวมถึงมีผู้ให้บริการทางด้านการขนส่งที่สามารถขนส่งสินค้าไปยังทุกจุดหมายทั่วโลกได้อย่างงรวดเร็วเช่น FedEx , DHL ทำให้ผู้ขายสามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย จากที่กล่าวมานี้ทำให้เห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นแนวทางใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้ลงทุนไม่มากนัก ได้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง และสะดวกสบาย

รูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มีรูปแบบการดำเนินการธุรกิจหลายรูปแบบ ดังนี้


1. Business-to-Business (B2B)


2. Business-to-Consumer (B2C)


3. Consumer-to-Business (C2B)


4. Consumer-to-Consumer (C2C
5. Business-to-Government (B2G)

ที่มา http://ban-pong.chiangmai.ac.th/internet_ec.html





"น้อมจิตวันทา บูชาครู กตัญญูกตเวที"
วันครู 2553
...อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
โดย...ว่าที่ร.ต.ดร.สมโชค เฉตระการ
ข้าราชการบำนาญ (ครูเชี่ยวชาญ สังกัดวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด)
อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ร้อยเอ็ด
วันนี้ 16 มกราคม 2553 วันครู เวลา 8.00 น. ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง วิทยาลัยการอาชีพพนมไพร วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัยและวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ โดยท่าน ผอ.อดุลชัย โคตะวีระ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดงานวันครู 2553 "น้อมจิตวันทา บูชาครู กตัญญูกตเวที" อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้บริหาร ครูและแขกผู้มีเกียรติพร้อมกันที่หอประชุมกลาง หลังจากนั้น นายธวัชชัย ฟักอังกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรนำสวดมนต์ นายสุทัศน์ สมุทรศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด กล่าวนำสวดคำฉันท์ ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์และเชิญชวนผู้ร่วมพิธีสงบนิ่ง 1 นาที นายวิทยา ชิณโย ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด นำกล่าวปฏิญาณตน นายสมศักดิ์ ปาละจูม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด อ่านสารนายกรัฐมนตรี จากนั้น นายอดุลชัย โคตะวีระ ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี และมอบเกียรติบัตรให้ครูดีเด่น


การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา 2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์



ความเป็นมาของวันครู


วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้


free counters

งานส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 กรุงเทพมหานคร- กิจกรรมประดับตกแต่งไฟฟ้า : วันที่ 1 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ย่านเพลินจิต - ราชประสงค์ - ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร - กิจกรรมนับถอยหลัง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ย่านราชประสงค์ ในเขตกรุงเทพมหานคร - การแสดงดนตรีและกิจกรรมบันเทิงต่างๆ /การแสดงแสง เสียง สื่อผสม / การนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่




ไหว้พระขอพรเสริมสิริมงคล 9 พระอารามหลวง - วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร - วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร - วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) - วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) - วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร - วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร - วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) - วัดบวรนิเวศวิหาร - วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร http://www.9wat.net/

ที่มา http://www.baanmaha.com/web/component/content/article/7-travel-center/65

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่



ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น
กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่
วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย

ที่มา http://www.zabzaa.com/event/newyear.htm






ชาวผู้ไทย





เป็นชาวจังหวัดนครพนมเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยเขต อำเภอเรณูนคร อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอนาหว้า เดิมตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไทย แคว้นสิบสองปันนา ชาวผู้ไทย ได้อพยพจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ ซึ่งตรงกับสมัยราชการที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตามตำนานของชาวผู้ไทยเรณูนคร กล่าวไว้ในพงศาวดารล้านช้าง ว่าที่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่เจ้าลางเซิง ขุนเค็ก ขุนคาง ปกครองชาวผู้ไทย เมือเกิดทุกภิกขภัยพญากา หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชัดผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำแขวง สุวรรณเขตปัจจุบัน ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่าอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดพิพาทกันขึ้นต่อมาผู้ไทยถูกชาวข่าและจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผ่าบ้านเรือน และจับเอาพญาเตโชหัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า อย่าอยู่เมืองวังเลยให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเสียเถิด ชาวผู้ไทยโดยการนำมาของท้าวเพชร ท้าวสาย จึงพาชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เข้ามาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำขวา โดยการต่อเรือและแพล่องมาตามแม่น้ำโขง ข้ามมาขึ้นฝั่งที่บ้านพระกลางท่าเขตอำเภอธาตุพนม พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนมเวลานั้นได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ ดงหวายสายบ่อแก ชาวผู้ไทยจึงอพยพกันต่อไปและตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า เมืองเว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสายเป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองคนแรกและยกเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม ปัจจุบันคือ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพรม

เปรียบเทียบภาษา

หมวดเครื่องใช้
เครื่องเขียนแบบเรียน
ไทยกลาง ไทยอีสาน ผู้ไทย
ดินสอ สอ สอ
ดินสอสี สอสี สอสี
ชอล์ก ช็อก ช็อก
ไม้บรรทัด ไม้บัน ทัด ไม้บันทัด
ยางลบ ยางลบ ยางลบ
สมุด สะมุด สะมุด
หนังสือ หนังสือ หนั่งสือ
กระดานดำ กะดานดำ กะด๋านด๋ำ
แปลงลบกระดาน แปงลบกระดาน แปลงลบกะด๋าน
กระดาษ กะดาษ กะด๋าษ
ปากกา ปากกา ปากกา
น้ำหมึก น่ำหมึก น่ำมึก
ชั้น ชั่น ชั้น




เผ่าไทโย้ย


ประวัติความเป็นมาในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าอนุวงศ์ได้ยกทัพขึ้นตีเมืองนครราชสีมา เรื่อยไปจนถึงเมืองสระบุรี ขากลับได้กวาดต้อนคนจากแถบฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ข้ามฟากไปเมืองเวียงจันทน์ เพื่อที่จะสะสมกำลังผู้คนต่อไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เสร็จสิ้น ทรงมอบนโยบายให้นำคน ที่เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนมาพร้อมกับชาวเมืองในละแวกนั้น กลับมายังฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยมีพระยาสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองนครพนม และเจ้าเมืองยโสธรพร้อมด้วยเจ้าเมืองสกลนคร คือ พระยาประจันตประเทศธานีไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมือง ท้าวเพีย ตลอดจนผู้คนที่อยู่ตามเมืองต่าง ๆ ให้ข้ามมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงจากการเกลี้ยกล่อมในครั้งนี้ ปรากฎว่ามีผู้คนอพยพเข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะจากเมืองฮ่อมท้าวฮูเซ หรือบางทีเรียกเมืองฮ่อมท้าว โดยมีท้าวติวสร้อยเป็นหัวหน้าและมีกลุ่มผู้นำอีกหลาย ๆ คนเช่น ท้าวศรีสุนาครัว ท้าวจันทนาม ท้าวนามโคตร ซึ่งผู้คนที่อพยพมาในครั้งนั้นมีจำนวนมากถึงสามพันกว่าคน เข้ามาเลือกหลักแหล่งทำเลที่ตั้งบ้านเรือนเพื่อทำมาหากิน และได้ตัดสินใจเลือกเอาบริเวณริมลำน้ำยาม ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสงครามเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและเรียกบ้านตนเองว่า “บ้านม่วงริมยาม” หรือบางคนเรียกว่า “บ้านท่าเมืองฮ้าง” เพราะสันนิษฐานว่าที่นี่เคยเป็นเมืองร้างมาก่อน ต่อมาทางกรุงเทพ ฯ ได้แต่งตั้งเจ้าเมืองขึ้นปกครองโดยอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองสกลนคร คือพระยา
จันตประเทศธานี แต่มีชาวโย้ยบางกลุ่มที่ไม่ยอมสมัครใจอยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองสกลนคร แต่ไปสมัครใจขึ้นต่อพระยาสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองนครพนมแทน ทางคณะลูกขุนศาลาในกรุงเทพ ฯ จึงกำหนดให้ท้าวศรีสุราช ซึ่งเป็นเจ้าเมืองและท้าวเพีย พร้อมด้วยชาวบ้านม่วงริมยามขึ้นมาทำราชการอยู่กับเมืองนครพนม และได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บ้านม่วงริมยาม โดยมีจำนวนประชากรที่เริ่มตั้งบ้านเมืองประมาณสองพันกว่าคนในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ยกบ้านม่วงริมยามขึ้นเป็นเมือง เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอากาศอำนวย และโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งท้าวศรีสุราชเป็น หลวงพลานุกูล เป็นเจ้าเมืองอากาศอำนวย พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องยศตามตำแหน่งเมือง จ.ศ.1216 (พ.ศ.2396)นอกจากชาวไทยโย้ยกลุ่มใหญ่ ที่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองอากาศอำนวยแล้วยังมีชาวไทยโย้ยบางส่วนอพยพไปตั้งบ้านเรือนขึ้นที่เมืองวานรนิวาสในปี พ.ศ.2404 และในปีพ.ศ.2406 ได้ตั้งเมืองที่บ้านโพนสว่าง หาดยาวริมห้วยปลาหาง ทำให้ประชากรที่เมืองอากาศอำนวย มีจำนวนลดลงตามลำดับ เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ. 2435 เปลี่ยนการเรียกเมืองเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบลตามลำดับ เมืองอากาศอำนวย มีฐานะเป็นอำเภออากาศอำนวย จนถึง พ.ศ.2457 ได้มีราชกิจจานุเบกษา ยุบอำเภออากาศอำนวยไปรวมกับอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมืองอากาศอำนวยจึงมีสภาพเป็นเพียงตำบลหนึ่งของอำเภอท่าอุเทนเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2458 ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่อีกครั้ง เทศาภิบาลมณฑลอุดรธานี ได้มาตรวจราชการที่อำเภออากาศอำนวย เห็นว่าการคมนาคมและการติดต่อไปมากับจังหวัดนครพนมไม่สะดวก เพราะอำเภออากาศอำนวยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมมาก จึงเสนอขอเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ โดยยุบอำเภออากาศอำนวย เป็นตำบลอากาศ และให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มาตรวจราชการที่ภาคอีสาน และได้มาเยี่ยมที่ตำบลอากาศด้วย ได้พิจารณาเห็นว่าตำบลอากาศตำบลวาใหญ่ ตำบลโพนงาม และตำบลโพนแพง รวม 4 ตำบล ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอวานรนิวาส การติดต่อไปมาของราษฎรตำบลกับที่ว่าการอำเภอไม่สะดวก อีกทั้ง 4 ตำบลดังกล่าวมีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่หนาแน่น พอที่จะจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ และสาเหตุอีกประการหนึ่งคือ เป็นท้องที่มีผู้ก่อร้ายแทรกซึมและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เป็นจำนวนสมควรที่จะมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองออกไปควบคุม ดูแลและป้องกันอย่างใกล้ชิดจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอวานรนิวาส เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 และต่อมามีความเจริญมากขึ้นจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2508 จนถึงปัจจุบัน

วัฒนธรรมการแต่งกายประเพณีการแต่งกายของชาวโย้ย แต่งกายด้วยเสื้อผ้าย้อมครามทอมือ เย็บด้วยมือสีกรมท่าเข้มออกดำ กางเกงขาทรงกระบอก เสื้อแขนทรงกระบอก มีผ้าขาวม้าฝ้ายไหมผูกเอว ส่วนหญิง เสื้อทำด้วยผ้าฝ้ายย้อมครามทอมือ สีดำแขนทรงกระบอกผ้าถุงเป็นผ้ามัดหมี่ทอเอง หรือผ้าไหมมัดหมี่มีหัวซิ่นและตีนซิ่น มีผ้าสไบลวดลายต่าง ๆ พาดไหล่ สามารถแต่งได้ทุกเวลา เป็นชุดแต่งกายที่ประหยัด ปัจจุบันชาวไทโย้ยบ้านอากาศอำนวยจะแต่งเฉพาะมีงานประเพณีเทศกาลงานบุญในหมู่บ้านเท่านั้น ในชีวิตประจำวันจะแต่งแบบง่าย ๆ เหมือนคนกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากจะซื้อจากตลาด แต่ถ้าเป็นงานศพจะแต่งกายไว้ทุกข์สีดำหรือขาวหรือสีสุภาพที่สุด อย่างไรก็ตามสำหรับการแต่งกายกลุ่มไทยโย้ยนี้พอจะแยกวัยได้ดังนี้
เด็กหญิงเสื้อ สวมเสื้อคอวง(คอกลม) มีจีบรูดถี่ ๆ ไม่มีแขน สวมหัว ตัดด้วยผ้าฝ้ายผ้านุ่ง นิ่งซิ่นต่ง (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่นลาดเล็ก ๆ เรียกซิ่นคั่นหรือหมี่หมากไม (ผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายแค่ 2 สี) ปั่นผสมเข้าในหลอดเดียวกันทอออกมาจะเป็นลานหมี่คั่นหมากไนไม่ต้องทัดแบบมัดหมี่ทอได้เลย ลายของซิ่นนิยมลายขอลายหมากจับเป็นต้นทรงผม นิยมตัดสั้นแค่ใบหู ปัจจุบันคือทรงบ๊อบหญิงสาวเสื้อ สวมเสื้อต่อง เสื้ออ้อง (เสื้อชั้นใน) ผ่าหน้าติดหมากกะติ่ง(กระดุม)หรือผ้าเคียนอกเป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมครามขณะอยู่บ้านเสื้อแขนกระบั้ง (แขนกระบอก) เมื่อไปทำบุญที่วัด บางครั้งจะห่มผ้าเบี่ยง(ผ้าสไบที่เป็นผ้าขาวม้าฝ้ายย้อมคราม หรือเป็นผ้าฝ้ายทอมือสีขาวไม่ย้อมคราม ชาวบ้านเรียกผ้าแพร) ทับตัวเสื้อผ้านุ่ง นุ่งซิ่นต่ง (ผ้าถุง) เป็นซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่น มักนุ่งแบบเหน็บชายพกไม่คาด เข็มขัด (เพิ่งมาคาดเข็มขัดเมื่อประมาณ 60 ปี ที่ผ่านมา แม้เมื่อ 30 ปีก่อนหน้านี้ก็ยังนิยมเหน็บชายพกเป็นส่วนใหญ่) การนุ่งซิ่นของผู้หญิงต้องต่อตีนและหัวซิ่นเนื่องจากฟืมที่ใช้ทอมีหน้าแคบ ผ้าที่นำมาต่อเป็นผ้าฝ้ายทดลายคั่นทางยาวหลากสี เวลาทอจะทอทางขวางแต่เวลาต่อหัวซิ่นจะวางผ้าทางยาว นั่นคือเส้นยืนจะเป็นสีล้วนและเส้นคั่นใช้หลากสี ไม่นิยมต่อหัวซิ่นด้วยผ้าพื้นทรงผม นิยมไว้ผมทรงซิงเกิ้ล ทรงดอกระทุ่ม ทรงบ๊อบ และผมยาวเกล้ามวยสูงก็มี สำหรับหญิงที่แต่งงานและมีบุตรแล้ว มักจะเปลือยอกเพื่อความสะดวกในการให้นมบุตรส่วนหญิงที่มีฐานะจึงจะสวมเสื้อทับเสื้ออ้องอีกชั้นหนึ่ง
หญิงมีอายุเสื้อ สวมเสื้อต่องหรือเสื้ออ้อง บางครั้งใช้ผ้าขาวม้าฝ้ายมาห่มเป็นผ้าเบี่ยงปิดหน้าอกเท่านั้นก็ไปไหน ๆ ได้ผ้านุ่ง นุ่งซิ่นหมี่ลาดหรือหมี่คั่นทรงผม ทรงซิงเกิ้ลหรือเกล้าผมมวยสูงเด็กชายเสื้อ เดิมพ่อแม่มักไม่ค่อยได้ให้สวมเสื้อ พอโตขึ้นไปโรงเรียน จึงได้สวมเสื้อซึ่งตัดจากผ้าฝ้ายทอมือมีทั้งย้อมครามหรือไม่ย้อมตามโอกาสที่ใช้ซ่งหรือกางเกง ถ้าเป็นเด็กเล็กก็ไม่สวมซ่งหรือกางเกงโตขึ้นจึงจะได้สวมทรงผม ผมตัดสั้น
ชายหนุ่มเสื้อ โดยทั่วไปไม่นิยมสวมเสื้อ ยกเว้นเมื่อไปวัดทำบุญ จะสวมเสื้อคอกลมผ่าหน้า แขนสั้น ตัดด้วยผ้าฝ้ายทดมือย้อมครามซ่งหรือกางเกง แต่เดิมนุ่งผ้าขาวม้าฝ้ายแบบนุ่งผ้าเตี่ยวเมื่อออกทำงานและนุ่งผ้าโสร่งเมื่อไปวัดทำบุญหรืองานเทศกาลต่าง ๆ มีผ้าขาวม้าพาดไหล่ ในระยะต่อมานิยมสวมกางเกงที่เรียกว่า ซ่งอุดร(ทรงอุดร) เป็นกางเกงขาสั้นคล้ายกางเกงนักเรียนเข้าใจว่าพ่อค้าจากเมืองอุดรธานีนำเข้ามาขายในหมู่บ้าน ยังมีกางเกงอีกชนิดหนึ่งเป็นกางเกงขาสั้นหูรูด เรียกทรงหูฮุดหรือซ่งน้อยหูฮูด ภายหลังใช้เป็นกางเกงชั้นใน ต่อมามีกางเกงทรงฮั่งหรือกางเกงขาก๊วยเป็นกางเกงย้อมคราม ซึ่งสมัยนั้นเวลาตัดจะใช้พร้าหัวโต (มีดอีโต้) ตัด
แทนกรรไกรและใช้มือเย็บเนื่องจากกรรไกรในสมัยนั้นหายาก มีราคาแพงต้องเก็บเอาไว้สำหรับตัดผม ไม่นำมาใช้ตัดเสื้อผ้าทรงผม ไว้ผมทรงปีก คือ หวีผมแสกกลางมีปีกสองข้างเอาไว้สะลิด(สะบัด)ชายมีอายุ ถ้าอยู่บ้านอาจนุ่งขาวม้าหรือนุ่งซ่งหูรูด ไม่ค่อยสวมเสื้อ ยกเว้นไปวัดไปงานบุญก็จะแต่งกายเหมือนผู้ชายเผ่าอื่น ๆ กลุ่มโทโย้ยนี้นิยมทอผ้าฝ้ายย้อมครามใช้มาแต่ดั้งเดิม ภายหลังได้พัฒนาการทอผ้าฝ้ายในกลุ่มตนเองเป็นการทอแบบมัดหมี่เป็นลวดลายต่าง ๆ ปัจจุบันมีแหล่งทอผ้าฝ้ายดังกล่าวที่บ้านวาใหญ่ วาน้อย และบ้านดอนแดง ซึ่งมีชื่อเสียงในการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้และแก่นไม้เป็นต้น ผ้าที่ทอนอกจากจะทอเป็นผ้าซิ่น ผ้าตัดเสื้อแล้วยังมีการทอผ้าห่ม ผ้าจ่อง ที่มีลวดลายสวยงาม สามารถนำไปเป็นผ้าสไบได้อีกด้วย


ไทยย้อ




เป็นชาวไทยในภาคอีสานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชอบเรียกตัวเองว่าเป็นชาวย้อ เช่น ชาวย้อในจังหวัดสกลนคร, ชาวย้อในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย), ช้าวย้อในจังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน) และชาวย้อในจังหวัดมุกดาหาร (ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง) ภาษาและสำเนียงชาวย้ออาจผิดเพี้ยนไปจากชาวอีสานบ้างเล็กน้อย ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวย้อมีผู้ค้นพบว่าเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาหรือยูนนาน ต่อมาชาวย้อบางส่วนได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองหงษา แขวงไชยบุรีของลาวปัจจุบัน เมืองหงษาเดิมอยู่ในเขตของราชอาณาจักรไทยแล้วตกไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและลาวต่อมา แขวงไชยบุรีของลาวเคยกลับคืนมาเป็นดินแดนของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งระหว่าง พ.ศ.2483 ถึง พ.ศ.2489 เรียกว่า "จังหวัดล้านช้าง" แต่ก็ต้องคืนดินแดนส่วนนี้ไปให้ฝรั่งเศสและลาวอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาชาวไทยย้ออีกส่วนหนึ่งได้อพยพมาตามลำน้ำโขงและตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองไชยบุรี (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม) ในสมัยราชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2351 ครั้นเมื่อเกิดกบฎเจ้า อนุวงษ์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2369 พวกไทยย้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์กวาดต้อนให้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอีกและได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ.2373 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงเลง เป็น "พระศรีวรราช" เจ้าเมืองคนแรก คือท้องที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน
นอกจากนี้ไทยย้อจากเมืองคำเกิด, คำม่วนยังได้อพยพมาตั้งเป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ใน พ.ศ.2387 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิด เป็น "พระสุวรรณภักดี" เจ้าเมืองท่าขอนยางขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านท่าขอนยาง, บ้านกุดน้ำใส, บ้านยาง, บ้านลิ้นฟ้า, บ้านโพนและยังมีไทยย้ออยู่ที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง, บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม, บ้านจำปา, บ้านดอกนอ, บ้านบุ่งเป้า, บ้านนาสีนวลอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม, บ้านหนองแวง, บ้านสา อำเภอยางตลาดและบ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ส่วนไทยย้อในจังหวัดสกลนครอพยพมาจากเมืองมหาชัยทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งเป็นดินแดนลาวในปัจจุบัน เมืองมหาชัยอยู่ห่างจากแม่น้ำโขงและเมืองนครพนมประมาณ 50 ก.ม. ไทยย้อจากเมืองมหาชัยอพยพข้ามโขงมาตั้งอยู่ริมหนองหารในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.2381 (เอกสาร ร.3 จ.ศ.1200 เลขที่ 10 หอสมุดแห่งชาติ) ในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร มีไทยย้ออยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหารและยังมีไทยย้อ อยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยอีกบางหมู่บ้าน ซึ่งอพยพมาจากเมืองคำเกิดคำม่วนในสมัยรัชกาลที่ 3


ที่มา: www.sakonarea1.go.th/main/downloads/devedu/7%20paow.doc

เครื่องแต่งกายสำหรับชุดการฟ้อนภาคอีสาน
ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
กลุ่มอีสานเหนือ
เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญบิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกัยในแถบอีสานเหนือคือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด และผ้าแพรวา
ผ้ามัดหมี่ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองที่ใช้กรรมวิธีในการย้อมสีที่เรียกว่า การมัดย้อม (tie dye) เพื่อทำให้ผ้าที่ทอเกิดเป็นลวดลายสีสันต่างๆ เอกลักษณ์อันโดดเด่นก็อยู่ตรงที่รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ผูกมัด และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งต่างๆ ของเส้นด้ายเมื่อถูกนำขึ้นกี่ในขณะที่ทอ ลวดลายสีสันอันวิจิตรจะได้มาจากความชำนาญของการผูกมัดและย้อมหลายครั้งในสีที่แตกต่าง ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ การทอผ้ามัดหมี่จะมีแม่ลายพื้นฐาน 7 ลาย คือ หมี่ขอ หมี่โคม หมี่บักจัน หมี่กงน้อย หมี่ดอกแก้ว หมี่ข้อและหมี่ใบไผ่ ซึ่งแม่ลายพื้นฐานเหล่านี้ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น จากลายใบไม้ ดอกไม้ชนิดต่างๆ สัตว์ เป็นต้น ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ เขตอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านเขวา จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น
ผ้าขิด หมายถึงผ้าที่ทอโดยวิธีใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิดซ้อนเส้นยืนขึ้นตามจังหวะที่ต้องการ เว้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งให้เดินตลอด การเว้นเส้นยืนถี่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลวดลายต่างๆ ทำนองเดียวกับการทำลวดลายของเครื่องจักสาน จากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไม้เก็บนี้จึงเรียกว่า การเก็บขิด มากกว่าที่จะเรียก การทอขิด ผ้าขิดที่นิยมทอกันมีอยู่ 3 ชนิด ตามลักษณะประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก คือ
ผ้าตีนซิ่น เป็นผ้าขิดที่ทอเพื่อใช้ต่อชายด้านล่างของผ้าซิ่น เนื่องจากผ้าทอพื้นเมืองจะมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดผืนผ้า ดังนั้นเวลานุ่งผ้าซิ่นผ้าจะสั้นจึงต่อชายผ้าที่เป็นตีนซิ่นและหัวซิ่นเพื่อให้ยาวพอเหมาะ
ผ้าหัวซิ่น ก็เช่นเดียวกันเป็นผ้าขิดที่ใช้ต่อชายบนของผ้าซิ่น
ผ้าแพรวา มีลักษณะการทอเช่นเดียวกับผ้าจก แพรวา มีความหมายว่า ผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายที่ทอเป็นผืนมีความยาวประมาณวาหนึ่งของผู้ทอ ซึ่งยาวประมาณ 1.5-2 เมตร
ผ้าแพรมน มีลักษณะเช่นเดียวกับแพรวา แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส นิยมใช้เช่นเดียวกับผ้าเช็ดหน้าและหญิงสาวผู้ไทนิยมใช้โพกผม
ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายน้ำไหลนี้ที่มีชื่อเสียงคือ ซิ่นน่าน (ของภาคเหนือ) มีลักษณะการทอลวดลายเป็นริ้วใหญ่ๆ สลับสีประมาณ 3 หรือ 4 สี แต่ละช่วงอาจคั่นลวดลายให้ดูงดงามยิ่งขึ้น ผ้าลายน้ำไหลของอีสานก็คงจะได้แบบอย่างมาจากทางเหนือ โดยทอเป็นลายขนานกับลำตัว และจะสลับด้วยลายขิดเป็นช่วงๆ
ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ลักษณะของผ้าโสร่งจะทอด้วยไหมหรือฝ้ายมีลวดลายเป็นตาหมากรุกสลับเส้นเล็ก 1 คู่ และตาหมากรุกใหญ่สลับกัน กว้างประมาณ 1 เมตร ยาว 2 เมตร เย็บต่อกันเป็นผืน
กลุ่มอีสานใต้
คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว
ผ้ามัดหมี่ ในกลุ่มอีสานใต้ก็มีการทอเช่นเดียวกันนิยมใช้สีที่ทำเองจากธรรมชาติเพียงไม่กี่สี ทำให้สีของลวดลายไม่เด่นชัดเหมือนกลุ่มไทยลาว แต่ที่เห็นเด่นชัดในกลุ่มนี้คือการทอผ้าแบบอื่นๆ เพื่อการใช้สอยกันมากเช่น
ผ้าหางกระรอก จะมีสีเลื่อมงดงามด้วยการใช้เส้นไหมต่างสีสองเส้นควั่นทบกันทอแทรก
ผ้าปูม เป็นผ้าที่มีลักษณะการมัดหมี่ที่พิเศษเป็นเอกลักษณ์ต่างจากถิ่นอื่น
ผ้าเซียม (ลุยเซียม) ผ้าไหมที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
ผ้าขิด การทอผ้าขิดในกลุ่มอีสานใต้มีทั้งการทอด้วยผ้าฝ้ายและผ้าไหม แต่ส่วนมากมักจะใช้ต่อเป็นตีนซิ่นในหมู่คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดี เพราะชาวบ้านทั่วไปไม่นิยมใช้กัน ลักษระการต่อตีนซิ่นของกลุ่มนี้นิยมใช้เชิงต่อจากตัวซิ่นก่อน แล้วจึงใช้ตีนซิ่นต่อจากเชิงอีกทีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มไทยลาวอย่างเด่นชัด



ข้อมูลจาก:http://www.student.chula.ac.th/~49467673/costum_fon_thdance.htm






ศิลปวัฒนธรรมอีสาน-งานศิลปะอีสาน



ศิลปะของชาวอีสานมีพัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆที่ค้นพบ ไม่ว่าจะเป็นที่อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี หรือถ้ำผ่ามือแดง จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ (ซึ่งบางแห่งเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในโลก) ล้วนแสดงให้เห็นว่าบรรพบุรุษของชาวอีสานรู้จักใช้งานศิลปะพวกภาพและสัญลักษณ์ต่างๆเป็นตัวสื่อความหมายมาเป็นเวลานาน และยังรู้จักเลือกใช้สีและวัสดุที่มีความคงทนสามารถทนต่อสภาพดินฝ้าอากาศและการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีตราบถึงปัจจุบัน ที่ยังคงบอกเรื่องราวการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษของชาวอีสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามศึกษาว่าคนยุคก่อนประวัติศาสตร์เหล่านี้ใช้สีที่ทำมาจากอะไรจึงสามารถคงทนได้นานเช่นนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถไขข้อสงสัยนี้ได้ เชื่อว่าในอนาคตไม่ช้านี้คงจะสามารถค้นพบความจริงที่เก็บซ่อนมาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อถึงเวลานั้นเราอาจจะหันกลับไปใช้กรมวิธีเช่นเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราเคยใช้ หลังจากที่เราใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มานาน นอกจากนี้การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยก็นับเป็นหนึ่งในศิลปะที่ชาวอีสานภาคภูมิใจ บ้านเรือนของชาวอีสานสร้างสถาปัตยกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาดรุ่นบรรพบุรุษ เริ่มจากเถียงนาน้อย ค่อยๆกลายมาเป็นบ้านไม้ที่มีความคงทนถาวร จนในปัจจุบันเป็นบ้านก่ออิฐถือปูนเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ยังมีบ้านเรือนเป็นจำนวนมากที่ยังคงอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมอีสานโบราณไว้เป็นอย่างดี สถานที่ที่เราจะสามารถชมศิลปะแบบอีสานได้ดีที่สุดคือตามศาสนสถานวัดวาอารามต่าง ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้คนในชุมชนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล วัดวาอารามต่างๆล้วนได้รับการดูแลรักษาจากพระสงฆ์และคนในชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้เป็นแหล่งสืบสานศิลปะอีสานที่มีมาแต่โบราณจนตราบถึงปัจจุบันยุคที่ผู้คนชาวอีสานเริ่มลืมศิลปะที่ดีงามของตัวเองไปแล้ว



ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอีสาน
ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย รวมทั้งชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในช่วงสงครามเวียดนาม ก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของเวียดนามเข้ามาด้วย ถึงแม้ปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้จะได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสาน (เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น) โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่เป็นวัยรุ่นในปัจจุบันได้รับการศึกษาที่ดีเหมือนกับชาวไทยทุกประการ จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคนไทยอีสานหรือคนเวียดนามกันแน่ ส่วนใหญ่ก็จะเห่อวัฒนธรรมตะวันตก(เหมือนเด็กวัยรุ่นของไทย)จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของตัวเอง แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามบางกลุ่มส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุยังคงยึดมั่นกับวัฒนธรรมของตนเองอยู่อย่างมั่นคง ท่านสามรถศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเวียดนามได้ตามชุมชนชาวเวียดนามในจังหวัดที่กล่าวมาแล้ว ส่วนประชาชนที่อยู่ทางจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา มีการติดต่อกันกับประชาชนชาวกัมพูชาก็จะรับเอาวัฒนธรรมของกัมพูชามาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัฒนธรรมประเพณีของคนทั้งสองเชื้อชาติก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของไทยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัฒนธรรมทางด้านการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเราสามารถสังเกตรูปแบบวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอีสานผ่านทางประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานจัดขึ้นซึ่งสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี




ศิลปะวัฒนธรรมอีสาน-อาหาร







หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน




ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลาลักษณะการปรุงอาหารพื้นเมืองอีสานลาบ เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ก้อย เป็นอาหารประเภทยำที่จะนำเนื้อย่างมาหั่นเป็นชิ้นๆผสมกับผักพื้นเมืองนิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่ ทานกับผักสดนานาชนิด ส่า เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำหนังหมู เนื้อหมูย่างสับมาผสมกับหัวปลี วุ้นเส้น แซ หรือ แซ่ เป็นอาหารประเภทยำที่นำเนื้อสดๆมาปรุงนิยมใช้กับเนื้อวัวและหมู คล้ายๆลาบแต่มักใส่เลือดสดๆด้วย กินกับผักสดตามชอบ คนโบราณนิยมกินเพราะเชื่อว่าเป็นยาชูกำลัง ปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในชนบทที่ห่างไกลอ่อม เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผักอ๋อ ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุกหมก เป็นอาหารประเภทหนึ่งที่ใช้ใบตองห่อนิยม ใช้กับเนื้อปลา ไก่ แมลง กบ เขียด ผักและหน่อไม้ หมกหรือห่อหมกของภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิอู๋ คล้ายหมกแต่ไม่ใช้ใบตอง นิยมใช้กับเนื้อปลาโดยเฉพาะปลาตัวเล็กๆ กับพวกลูกอ๊อดกบหม่ำ คือ ไส้กรอกเนื้อวัวผสมตับ ตะไคร้และเครื่องเทศอื่นๆหม่ำขึ้ปลา มีลักษณะคล้ายปลาร้าชนิดหนึ่งรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว หมักกับข้าวเหนียวแจ่ว คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก ตำซั่ว เป็นอาหารประเภทส้มตำชนิดหนึ่ง แต่ใส่ส่วนประกอบมากกว่า คือ ใส่ขนมจีน ผักดอง ผัก(เหมือนที่ใส่ขนมจีน) และมะเขือลาย หรือผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย ผักอื่นๆตามต้องการลงไปในตำมะละกอด้วย



ที่มา : http://student.nu.ac.th/isannu/food/foodindex.htm




ที่มาhttp://www.youtube.com/watch?v=aKUA2vAJWFY



ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=7QIQ58aHhcQ&feature=related


ศิลปะวัฒนธรรมอีสาน-ภาษา

ภาษาพูดของคนอีสานในแต่ละท้องถิ่นนั้นจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกับถิ่นใดรวมทั้งบรรพบุรุษของท้องถิ่นนั้นๆด้วย เช่น แถบจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ มีชายแดนติด กับเขมรสำเนียงและรากเหง้าของภาษาก็จะมีคำของภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย ทางด้านจังหวัด สกลนครนครพนม มุกดาหาร หนองคาย เลยที่ติดกับประเทศลาวและมีชาวเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ค่อนข้างมากก็จะมีอีกสำเนียงหนึ่งชนเผ่าดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆก็จะมีสำเนียงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและยังคงรักษาเอกลักษณ์นั้นไว้ตราบจนปัจจุบัน เช่น ชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหารและนครพนมถึงแม้ชาวอีสานจะมีภาษาพูดที่มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นแต่ในภาษาอีสานก็มีสิ่งหนึ่งที่ยังคงมีความคล้ายกันก็คือลักษณะของคำและความหมายต่างๆ ที่ยัง คงสื่อความถึงกันได้ทั่วทั้งภาค ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ชาวอีสานต่างท้องถิ่นกันสามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดีถ้าจะถามว่าภาษาถิ่นแท้จริงของชาวอีสานใช้กันอยู่ที่ใดคงจะตอบไม่ได้ เพราะภาษาที่คนในท้องถิ่นต่างๆใช้กันก็ล้วนเป็นภาษาอีสานทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นภาษาที่มีความแตกต่างกัน แต่ก็มีรากศัพท์ในการสื่อความหมายที่คล้ายคลึงกันในปัจจุบันชาวอีสานตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นได้หันมาใช้ภาษาไทยกลางกันมากขึ้น เพราะวัยรุ่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาที่ดีเทียบเท่ากับคนในภาคกลางหรือกรุงเทพมหานครทำให้ภาษาอีสานเริ่มลดความสำคัญลง เช่นเดียวกันกับภาษาพื้นเมืองของภาคอื่นๆ แต่ผู้คนตามชนบทและคนเฒ่าคนแก่ยังใช้ภาษาอีสานกันเป็นภาษาหลักอยู่ ทั้งนี้คนอีสานส่วนใหญ่จะสามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาอีสานของท้องถิ่นตนเองและภาษาไทยกลาง หากท่านเดินทางไปในชนบทของอีสานจะพบการใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกันไปดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คนอีสานเหล่านี้โดยเฉพาะวัยรุ่นหนุ่มสาวก็จะสามารถสื่อสารกับท่านเป็นภาษาไทยกลางได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นชาวอีสานใหญ่จะเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อก่อนจะไปหางานทำเฉพาะหลังฤดูทำนา แต่ในปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเข้ากรุงเทพฯและทำงานที่นั่นตลอดทั้งปี ชาวอีสานที่ไปต่างถิ่นนอกจากจะหางานทำแล้วก็ยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมรวมทั้งภาษาของตนเองไปในตัว จะเห็นได้จากในปัจจุบันชาวไทยจำนวนมากเริ่มเข้าใจภาษาอีสาน ทั้งจากเพลงลูกทุ่งภาษาอีสานที่ได้รับความนิยมกันทั่วประเทศและจากคนรอบตัวที่เป็นคนอีสาน ทำให้ภาษาอีสานยังคงสามารถสืบสานต่อไปได้อยู่ถึงแม้จะมีคนอีสานบางกลุ่มเลิกใช้


ภาษาอีสานคำว่า..
ตู้
อ้างอิงจังหวัด..
สุรินทร์
ความหมาย..
ควายตู้,โง่เหมือนควายตู้,คิดเองไม่เป็น
ตัวอย่าง
ตู้ เป็นภาษาโคราช แปลว่า ควายตู้(คือควายที่มีเขาสั้นๆคนอีสานเรียกว่าควายตู้) คำว่า ตู้ เป็นคำด่า ในกลุ่มเพื่อนๆถ้าเรียกว่า ตู้ คือคำด่า เช่น ตู้ใหญ่,ไอ้บ้าใหญ่,ไอ้จัญไรใหญ่ (ลงท้ายด้วยคำว่า ใหญ่ ส่วนมาจะเป็นคำด่า


ภาษาอีสานคำว่า..
จังแม่นเป็นก้าว
อ้างอิงจังหวัด..
สุรินทร์
ความหมาย..
ทำเป็นยิ่ง,ลืมพื้นเพของตัวเอง
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง บักหำน้อยไปเรียนหนังสืออยู่กรุงเทพ เรียนจบนิติศาสตร์ กลับไปบ้านอีสาน กะยังพูดคุยกับคนอื่นบ้าง แต่พอบักหำน้อย เรียนจบเนติฯ แล้ว กลับไปบ้านเลยไม่พูดไม่คุยกับใคร มองเห็นคนอื่นด้อยกว่าตัวเอง (แต่ยังไม่ถึงกับชั่ว ยังพอคบได้) ภาษาบ้านผมเรียกว่า \"จังแม่นมันเป็นก้าว\"



ภาษาอีสานคำว่า..
ถอกทิ่ม
อ้างอิงจังหวัด..
สุรินทร์
ความหมาย..
เททิ้ง.เทออกให้หมด
ตัวอย่าง
ถอก เป็นภาษาอีสาน แปลว่า เท, ตัวอย่าง พ่อใหญ่หนู นั่งดื่มกาแฟ คาปูชิโน กับ บ่าวหน่ออยู่ พอดีบักต๊อกผ่านมาร่วมวงด้วย...แต่ไม่มีถ้วยให้..พ่อใหญ่หนูก็เลยขอให้..บ่าวหน่อ...ใช้ถ้วยกาแฟเก่า แต่ว่ายังมีกาแฟเหลืออยู่ จึงต้องเททิ้งก่อน..ภาษาบ้านผมเรียกว่า..\"ถอกทิ่ม\" คือ เททิ้งก่อน...คือทำให้ของเหลวเช่นน้ำออกจากถ้วยหรือกระบอก,คือ ถอกทิ่ม,ถอกออกให้หมด









ศิลปวัฒนธรรมอีสาน-การแสดง

การขับร้อง หรือการลำ การนำเอาเรื่องในวรรณคดีอีสานมา ขับร้อง หรือมาลำ เรียกว่า ลำ ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลายๆ เรื่องเรียกว่า "หมอลำ"


ลำโบราณ
เป็นการเล่านิทานของผู้เฒ่าผู้แก่ให้ลูกหลานฟัง ไม่มีท่าทาง และดนตรี ประกอบ
ลำคู่หรือลำกลอน
เป็นการลำที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกัน มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ แคน การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอน ลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมี ปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำ ขึ้นอีกหนึ่งคน อาจเป็นชายหรือหญิง ก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรัก หักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้
ลำหมู่
เป็นการลำที่มีผู้แสดงเพิ่มมากขึ้น จนเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครที่มีในเรื่อง มีเครื่องดนตรีประกอบเพิ่มขึ้น เช่น พิณ (ซุง หรือ ซึง) กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอน หมอลำแสดง เป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า แต่ก็ได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง (หมอลำ) มาร้อง เพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟูมากที่สุด คณะหมอลำดังๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี
ลำซิ่ง
หลังจากที่หมอลำคู่และหมอลำเพลิน ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลงไป อันเนื่องมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีวิทยุโทรทัศน์ ทำให้ดนตรีสตริงเข้ามาแทรกในวิถีชีวิตของผู้คนอีสาน ความนิยมของการชมหมอลำ ค่อนข้างจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดความวิตกกังวลกันมากในกลุ่มนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน แต่แล้วมนต์ขลังของหมอลำก็ได้กลับมาอีกครั้ง ด้วยรูปแบบที่สะเทือนวงการด้วยการแสดงที่เรียกว่า ลำซิ่ง ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบาดไปสู่การแสดงพื้นบ้านอื่นให้ต้องประยุกต์ปรับตัว เช่น เพลงโคราชกลายมาเป็นเพลงโคราชซิ่ง กันตรึมก็กลายเป็นกันตรึมร็อค หนังปราโมทัย (หนังตะลุงอีสาน) กลายเป็นปราโมทัยซิ่ง ถึงกับมีการจัดประกวดแข่งขัน บันทึกเทปโทรทัศน์จำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย จนถึงกับ มีบางท่านถึงกับกล่าวว่า "หมอลำไม่มีวันตาย จากลมหายใจชาวอีสาน"

ภาคนี้โดยทั่วไปมักเรียกว่าภาคอีสาน ภาคอีสาน ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุกและขยัน อดทน คนอีสานมักไปขายแรงงานในท้องที่ภาคกลางหรือภาคใต้
เพลงพื้นเมืองอีสานจึงมักบรรยายความทุกข์ ความยากจน ความเหงา ที่ต้องจากบ้านมาไกล ดนตรีพื้นเมืองแต่ละชิ้นเอื้อต่อการเล่นเดี่ยว การจะบรรเลงร่วมกันเป็นวงจึงต้องทำการปรับหรือตั้งเสียงเครื่องดนตรีใหม่เพื่อให้ได้ระดับเสียงที่เข้ากันได้ทุกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม คนอีสานก็พยายามหาความบันเทิงในทุกโอกาส เพื่อผ่อนคลายความไม่สบายใจหรือสภาพความทุกข์ยากอันเนื่องจากสภาพธรรมชาติ
เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน เช่น พิณ แคน โหวด โปงลาง หืน ซอ ปี่ไม้ซาง กลองตุ้ม กลองยาว เป็นต้น ทำนองเพลงพื้นเมืองอีสานมีทั้งทำนองที่เศร้าสร้อยและสนุกสนาน เพลงที่มีจังหวะเร็วนั้นถึงจะสนุกสนานอย่างไรก็ยังคงเจือความทุกข์ยากลำบากในบทเพลงอยู่เสมอ ทำนองเพลงหรือทำนองดนตรีเรียกว่า “ลาย” เช่น ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไส่บินข้ามท่ง ลายลมพัดพร้าว ลายน้ำโตนตาด เป็นต้น
การขับร้องเรียกว่า “ลำ” ผู้ที่มีความชำนาญในการลำเรียกว่า “หมอลำ” ลำมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน ลำเพลิน ลำเรื่องต่อกลอน ลำผญา(ผะหยา) ลำเต้ย เป็นต้น ส่วนบทเพลงหรือลายบรรเลงก็มาจากภูมิปัญญาชาวที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดนตรีโปงลาง เช่นอาจารย์ทรงศักดิ์ ปทุมสิน ซึ้งเป็นผู้เชี่ยวทางด้านโหวด และอาจารย์ทองคำ ไทยกล้า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน แคน














เครื่องนุ่งห่ม
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าสำหรับใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม เป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากทำนา หรือว่างจากงานประจำอื่น ๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงเป็นผู้ทอ ผู้ชายเป็นผู้จัดทำเครื่องมือ และอุปกรณ์ ผ้าที่ทอมี 2 ลักษณะ ดังนี้
- ผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นผ้าฝ้ายที่ทอขึ้นอย่างง่าย ๆ มีทั้งที่เป็นสีพื้น และมีลวดลายบ้างไม่ค่อยประณีตสวยงามมากนัก แต่ทนทาน
- ผ้าที่ใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ชาวบ้านมักนิยมสวมใส่เสื้อผ้าไหมที่ทอเป็นพิเศษสวยงาม ใช้ฝีมืออย่างประณีต


ประเภทของการทอผ้า การผลิตผ้าพื้นเมืองของชาวอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้าย และไหม แม้ว่าใน ปัจจุบัน จะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกันได้แก่
ผ้ามัดหมี่ ใช้ในกรรมวิธีในการย้อมสีเรียกว่า การมัดย้อม เพื่อทำให้ผ้าที่ทอเกิดเป็น ลวดลายสีสันต่าง ๆ
ผ้าขิด หมายถึง ผ้าที่ทอโดยใช้วิธีใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิดช้อนเส้นยืนขึ้นตามจังหวะที่ ต้องการเว้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งให้เดินตลอดการเว้นเส้นยืนถี่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลวดลาย ต่าง ๆ
ผ้าแพรวา หมายถึง ผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายที่ทอเป็นผืนมีความยาวประมาณวาหนึ่งของผู้ทอ มีการสะกิดเส้นด้ายหรือเส้นไหมที่เป็นเส้นยืนในกี่ทอผ้าเก็บลายตามที่ต้องการ แล้วใช้ไม้ปลายแหลมสอดด้ายเป็นเส้นพุ่งผ่านเข้าไปในเส้นยืน




ลักษณะการแต่งกายของชาวอีสาน ชาวอีสานมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนคือ หญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอด้วยฝ้าย หรือไหมมีเชิงคลุมยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนสั้น ผู้สูงอายุมักตัดผมสั้นไว้จอน ส่วนผู้ชาย ไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนนัก แต่มักนุ่งกางเกงมีขาครึ่งน่องหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม อย่างไรก็ตาม เครื่องแต่งกายดังกล่าวจะพบน้อยลง ในปัจจุบันคนวัยหนุ่มสาวจะแต่งกายตามสมัยนิยมอย่างที่ พบเห็นในที่อื่น ๆ ของประเทศ แต่ก็สามารถหาชมการแต่งกายของชาวอีสานแบบดั้งเดิมได้ ตามหมู่บ้านในชนบท คนเฒ่าคนแก่ยังคงแต่งกายแบบดั้งเดิม




แหล่งที่มา:
http://online.benchama.ac.th/social/so40217/web/lesson_06.html